เนื่องจากมีเพื่อนๆ แจ้งกลับมาพอสมควรว่าอยากอ่านบทความเฉพาะด้านการทำงานของผม หมายถึงด้านการสร้างรายได้นะครับ ผมจึงคิดว่าจะทยอยรวบรวม และเรียบเรียงเป็นบทความให้ใหม่ ช่วงนี้งานมาก รอสักระยะหนึ่งนะครับ

ขอบคุณมากครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
55-03-04

A10 : เกี่ยวกับพรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

สวัสดีครับทุกคน วันนี้ผมขอนำบทความที่ได้รับจากสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย มาให้ได้อ่านกัน เพราะเกี่ยวข้องกับพวกเราที่ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว

....................................

เรียน สมาชิกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

หลังวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ได้ประกาศใช้บังคับได้ตาม กฎหมาย ซึ่งสำหรับในแง่คนทำเว็บ ควรให้ความใส่ใจ ในการเก็บข้อมูล ซึ่ง โดยสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ผู้จัดทำเว็บไซด์ต้องเก็บข้อมูล มิฉะนั้น คุณอาจจะมีความผิด ตาม พรบ ซึ่งมีโทษปรับสูงถึง 500,000 บาท แต่ยังไม่ต้องตกใจ จนเกินเหตุแม้จะประกาศใช้แล้ว แต่ยังมีระยะเวลาผ่อนผันให้ ผู้จัดทำเว็บไซด์ควร เร่งปรับปรุง Engine ให้เก็บข้อมูลครบถ้วนตาม กฎหมาย โดยเร็ว

โดยรวมนั้น ผู้ให้บริการ เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ต ต้องเก็บข้อมูลดังนี้

1. ข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งเข้ามาสู่ระบบ เช่น ข้อความที่โพส , ภาพที่ถูกโพส , Icon ที่ upload โดย User , รายละเอียดลงทะเบียน ฯลฯ

2. IP Address ของผู้ใช้บริการ ณ ขณะทำกิจกรรมนั้น ในส่วน IP Address นั้น ควรเก็บ IP ทั้ง Internet IP Address (อินเตอร์เน็ตไอพี) และ Local IP Address (ไอพีภายใน) เนื่องด้วย ผู้ใช้บริการ อาจจะใช้งานจากใน องค์กร หรือ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ การเก็บข้อมูลสำหรับผู้พัฒนาระบบบนเว็บไซด์ "ทำไมต้องเขียนว่า ณ ขณะ ทำกิจกรรมนั้น ๆ" คือในความจริง เราไม่อาจจะยึดถือเอา IP ณ ขณะ login ได้ ทุกครั้ง เหตุเพราะ ( Internet หลุด หรือ เปลี่ยนไปใช้ Proxy ฯลฯ ) เราควรเก็บข้อมูล IP ณ ขณะ ที่ผู้ใช้บริการ ทำการ "Post" หรือ "Get" ข้อมูลเข้ามาสู่ระบบ

ตัวอย่างเช่น

กรณี เว็บบอร์ด เก็บ IP ต่อความเห็นที่ผู้ใช้ เมื่อขณะตั้งกระทู้ หรือ ขณะ ตอบการแสดงความเห็น ,
กรณี Blog , Web Diary เก็บ IP ต่อความเห็นที่ผู้ใช้ เมื่อขณะสร้าง,แก้ไข บทความ หรือ ขณะ ตอบการแสดงความเห็น ,
กรณี บอร์ตโพสรูป เก็บ IP ณ ขณะ โพสรูป เข้าสู่ระบบ (ควรเก็บต่อไฟล์หรือต่อครั้งที่ Upload ),
กรณี เว็บ ฝากไฟล์ เก็บ IP ณ ขณะ Upload ไฟล์เข้าสู่ระบบ (ควรเก็บต่อไฟล์หรือต่อครั้งที่ Upload ),
กรณี เว็บทำ Internet Radio เก็บ IP ณ ขณะเข้าเชื่อมต่อกับ server

3. เวลา ณ ขณะทำกิจกรรมนั้น กรณีของเวลา ยังคงมีประเด็นถกเถียงกัน ว่าจะยึดเอาเวลาของที่ไหนเป็นหลัก แต่โดยรวม ตั้งตามเวลาไทยที่อ้างอิงได้เช่น เวลาของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หรือเทียบเวลา GMT เจ้าของเว็บไซด์ ควรปรับให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนข้อมูล เวลา ควรระบุชัดเจน วันเดือนปี เวลา ให้ครบถ้วนเช่น 1/01/2007 10:10:01 เป็นต้น

โดยข้อมูลเหล่านี้ ต้องเก็บไว้ อย่างน้อย 90 วัน นับแต่การเกิดกิจกรรมนั้น ๆ (แนะนำ ให้เก็บไว้นานเท่าที่จะทำได้ ) ส่วนข้อมูล IP Address นั้นผู้ให้บริการระบบ ( เว็บ ) ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ขอให้เก็บ ตามที่ปรากฏจริงเมื่อเข้ามาสู่ระบบของเราเป็นพอ

โดย คุณพัฒนพงศ์ สุนทรกำจรพานิช
รองเลขาธิการ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
http://www.webmaster.or.th
สำนักประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association)1768 อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ชั้น ITถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์/โทรสาร. 0 2251 3090มือถือ. 081 442 4685

.................................

ขอบคุณครับ

ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 086-314-7866
Tel. & Fax.: 02-924-2726
email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : July 20, 2007

No comments:

Post a Comment