เนื่องจากมีเพื่อนๆ แจ้งกลับมาพอสมควรว่าอยากอ่านบทความเฉพาะด้านการทำงานของผม หมายถึงด้านการสร้างรายได้นะครับ ผมจึงคิดว่าจะทยอยรวบรวม และเรียบเรียงเป็นบทความให้ใหม่ ช่วงนี้งานมาก รอสักระยะหนึ่งนะครับ

ขอบคุณมากครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
55-03-04

A23 : ไอเดียเว็บไซต์ของพวกเรา ที่เข้าทางการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยบน web 2.0

สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้พบกับข่าวเล็กๆ ข่าวหนึ่ง ที่กำลังเป็นปัญหาของชาวอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ ซึ่งเขาไปไกลแล้ว ดังนั้นปัญหานี้ก็ต้องเกิดกับประเทศไทยแน่นอน ดังเช่นปัญหาเท่าที่ผมเห็นเป็นข่าวถึง 4 เรื่องสำคัญๆ คือ
.
1. การหลอกลวงหญิงสาวออกไปถูกข่มขืน หรืออาจจะถึงกับฆาตกรรม
.
2. การหลอกลวงทางด้านการเงินว่าถูกรางวัล หรือมีความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ และตอบแทนเป็นเงินที่มีจำนวนสูงมาก
.
3. การทำธุรกิจการเงินลูกโซ่ ที่มีมากมาย หลังหลอกเงินแล้วก็ปิดเว็บไป
.
4. การใส่ร้ายป้ายสีกัน หรือใช้ถ้อยคำที่รุนแรง
.
ซึ่งก็ไม่นับปัญหาทางเพศ วับๆ แวมๆ งั้นเราลองมาอ่านบทความในหนังสือพิมพ์กันก่อน และต่อด้วยไอเดียคร่าวๆ ว่าในแง่ของการทำงาน ทางผมน่าจะทำเว็บไซต์ที่ในอนาคตจะเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้อย่างไรครับ

........................................................................

เวทีโลกระดมสมองฝ่าด้านมืดเว็บ 2.0

ผู้ให้บริการเวบบล็อก ยึดเวทีประชุม "เลอ เวบ 3" ในฝรั่งเศส เปิดประเด็นความปลอดภัยการใช้เวบ 2.0 แนะใช้ประวัติออนไลน์ แสดงระดับความน่าเชื่อถือ

รายงานข่าวจากไอดีจี นิวส์ เซอร์วิส กล่าวว่า เวทีประชุม "เลอ เวบ 3" ในฝรั่งเศสปีนี้ เปิดประเด็นสนทนา "ด้านมืด" เวบ 2.0 หลังที่ผ่านมา มีกระแสคุกคามผ่านเว็บบล็อก พฤติกรรมอนาจารบนมายสเปซ และการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเฟชบุ๊ค

โดยมีผู้ร่วมเวทีสนทนา ได้แก่ นายคริส อันเดน ประธานคณะผู้บริหาร (ซีอีโอ) บริษัทพัฒนาบล็อก ซิกซ์อะพาร์ท, นายเจวุง ลี ผู้ก่อตั้ง Daum ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของเกาหลีใต้ และนายแดน โรส รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ของเฟชบุ๊ค

ทั้งนี้ผู้ร่วมประชุมระบุว่า ปัญหาที่พบบนเวบในขณะนี้คือ การปิดบังตัวตน ที่กำลังทำลายความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมของผู้คน และกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นที่ก้าวร้าว หรือด้านร้ายๆ บนบล็อก ซึ่งแม้ว่าระบบจะกำหนดให้ผู้ใช้งานลงทะเบียน แต่ชื่อที่ปรากฏบนหน้าจอก็อาจใช้ชื่อปลอม และมีผู้ประสงคร้ายน้อยคนที่ใช้ชื่อจริง และให้ที่อยู่ของตัวเอง

นายลัวซ์ เลอ เมอร์ บล็อกเกอร์ชาวฝรั่งเศส และผู้จัดงานประชุมครั้งนี้ กล่าวว่าในเก่าหลีใต้ รัฐบาลพยายามที่จะจัดการกับเว็บไซต์นอกคอก ด้วยการกำหนดให้ต้องใช้ ชื่อจริงบนเวบ ซึ่งจะเชื่อมตรงเข้ากับฐานข้อมูลชื่อ และที่อยู่ ที่ใช้ในโลกความเป็นจริง

อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลางทำให้เกิดช่องโหว่ ส่งผลให้ชาวเกาหลีใต้นับพันรายเสี่ยงต่อการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยมีข้อเสนอแนะว่า วิธีที่ดีกว่า คือ ให้ใช้ประวัติในการออนไลน์ เป็นเครื่องมือ แสดงความน่าเชื่อถือของผู้ใช้ และความน่าเชื่อถือที่เกิดขึ้นจากความไว้วางใจ ที่ผู้ใช้สะสมจากการใช้งานเว็บในอดีต

ขณะที่ เว็บสังคม "เฟชบุ๊ค" แม้จะมีปัญหาการใช้ชื่อปลอมน้อย เนื่องจากเป็นเว็บที่ผู้ใช้ต้องการแสดงตัวกับเพื่อนในทางกลับกันคือ ความเป็นส่วนตัวกับเพื่อนในชีวิตจริง แต่ทั้งนี้ก็ยังเผชิญปัญหาในทางกลับกันคือ ความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้

บทความจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้า 9 ประจำวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550

...............................................
.
.
จะเห็นว่าถ้าเราสามารถหยิบประเด็นความน่าเชื่อถือบนโลกอินเตอร์เน็ตออกมาได้ แล้วนำประโยชน์อื่นๆ มายังผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกคนได้ ก็คงจะเป็นทางออกได้อย่างลงตัว ซึ่งทางเรากำลังคิดทำโปรเจ็คนี้อยู่ครับ ผมหวังว่าโครงการนี้จะเสร็จทันกลางปี 2551
.
เพราะว่าจะเป็นเว็บไซต์ที่สมาชิกมีความน่าเชื่อถือ สมาชิกจะสะดวกสบายขึ้นในการใช้ชีวิตในโลกอินเตอร์เน็ต และโลกของความเป็นจริง ที่สำคัญครับ สมาชิกทุกคนจะมีรายได้แน่นอน และเป็นรายได้ที่มี demand ทำให้เกิดการจ่ายจริง สมาชิกทุกคนจึงได้รับเงินจริง ตรวจสอบได้ เป็นเว็บไซต์ที่ดีมากๆ สำหรับคนไทย ที่พวกเราใช้ประสบการณ์ และความสร้างสรร คิดทำกันขึ้นมา ไม่ได้ไปลอกเลียนแบบใคร หรือขโมยความคิดใคร
.
ยังไงอดใจรอกันนิดนึงครับ
.
.
ขอบคุณครับ
089-6910225

No comments:

Post a Comment