เนื่องจากมีเพื่อนๆ แจ้งกลับมาพอสมควรว่าอยากอ่านบทความเฉพาะด้านการทำงานของผม หมายถึงด้านการสร้างรายได้นะครับ ผมจึงคิดว่าจะทยอยรวบรวม และเรียบเรียงเป็นบทความให้ใหม่ ช่วงนี้งานมาก รอสักระยะหนึ่งนะครับ

ขอบคุณมากครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
55-03-04

A26 : เสวนา “ศักยภาพของผู้พิการ...สู่สิทธิและศักดิ์ศรี” ในงานวันคนพิการสากล ประจำปี ๒๕๕๑

สวัสดีครับ เพื่อนๆ บทความเกี่ยวกับการทำงานของผมในครั้งนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวผู้พิการนะครับ เริ่มจากว่ามีทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทแกรนด์ ซึ่งน่าจะผู้จัดงาน "วันคนพิการสากล ประจำปี 2551 CRPD สู่ศักดิ์ศรี สร้างสังคมที่ดี มีความยุติธรรม" ที่ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๓ – ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑

ได้มีเจ้าหน้าที่โทรมาสอบถามว่า ขอเชิญมาร่วมเสวนาในหัวข้อ “ศักยภาพของผู้พิการ...สู่สิทธิและศักดิ์ศรี” ในวันที่ 4/12/2551 ร่วมกับ คุณสายสุนีย์ จ๊ะนะ นักกีฬาฟันดาบเหรียญทองจากพาราลิมปิก และ คุณสุรสิทธิ์ เกียรติเรื่องชัย ตัวแทนจากเยาวชนผู้พิการทางการได้ยิน ผู้สร้างสรรค์งานแอนิเมชั่น ผมจึงตอบรับปากว่าจะเข้าร่วมงานด้วยครับ โดยมีพิธีการดำเนินรายการในช่วงนี้คือ คุณอัญชีพร กุสุมภ์ ผมก็ไม่รู้จักครับ แต่พอได้พบ จึงทราบว่าเป็นนักข่าวแน่ แต่ไม่รู้ช่องไหน จึงขอนำภาพในอินเตอร์เน็ตมาวางไว้แทนครับ


เริ่มจากคุณสุนีย์ จ๊ะนะ นักกีฬาฟันดาบเหรียญทองจากพาราลิมปิก ที่ได้มากล่าวถึงที่มาของการได้มาเล่นกีฬา จนประสบความสำเร็จได้รับเหรียญทอง รวมทั้งความอดทน ความพยายามในการฝึกฝนตัวเอง แนวคิดในการดำเนินชีวิต การดูแลครอบครัว เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้พิการหลายๆ ท่านทางด้านการเคลื่อนไหว ครับ

น้องสุรสิทธิ์ เกียรติเรื่องชัย ที่มีความสามารถในการทำแอนิเมชั่น 3D จากมหาวิทยาลัยราชสุดาฯ ซึ่งเป็นผู้พิการทางการได้ยิน ที่มีทัศนคติที่ดีในการดำเนินชีวิต มีความพยายาม ใฝ่หาความรู้ และคิดว่า ผู้พิการทางการได้ยินนั้นมีความสามารถไม่แพ้คนปกติ


ส่วนตัวผมเอง ปรีดา ลิ้มนนทกุล ที่ได้มาพูดถึง ความตั้งใจในการดำเนินชีวิต ด้านการทำงานที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการยอมรับผลการทำงานของผู้พิการในสังคมไทย (สามารถอ่านรายละเอียดสคริปได้ที่ลิ้งค์นี้ครับ) โดยอาศัยแนวคิดด้านการบริหารจัดการเป็นหลัก เพราะความเชื่อส่วนตัวของผมนั้น ผู้พิการขาดความรู้ด้านการจัดการ จึงไม่สามารถแข่งขันในตลาดอาชีพได้ครับ


ภาพบรรยากาศบนเวที ที่คุณอัญชลีพร กำลังสัมภาษณ์คุณสายสุนีย์ จ๊ะนะ


ดูกันชัดๆ อีกภาพครับ

ถึงคิวผมพูดบ้าง จะสลับกันไป 3 ครั้งครับ
.
เสียดายมากเลยครับที่ไม่มีภาพที่น้องสุรสิทธิ์ได้ใช้ภาษามือ ให้กับพี่ 2 คนที่อยู่ข้างล่าง คนหนึ่งจะแปลแล้วพูดใส่ไมโครโฟนให้ทุกคนได้ยิน อีกคนหนึ่งจะคอยทำภาษามือเมื่อพิธีกรถาม หรือ ผม หรือ คุณสายสุนีย์ตอบคำถามคุณอัญชลีพร ครับ
.ผมลืมอธิบายถึงบรรยากาศภายในงานนะครับ เริ่มจากผมเข้าประตูหน้ามาแล้ว ผ่านหน้าหอประชุมใหญ่ฯ ปรากฏว่าไม่มีที่จอดรถเลย คือ ผมติดต่อน้องที่คอยประสานงานช้าไป จึงต้องวนรถ 1 รอบ คราวนี้พอน้องออกมารับ ที่จอดรถก็ใกล้มากครับ ห่างจากทางขึ้น ที่น่าจะทำมาเป็นพิเศษสำหรับงานนี้ (ลืมถ่ายรูปมาให้ดูครับ) พอเข้าถึงหลังเวที ก็ได้พบกับ ผอ.สุธิดา (พก.) กับคุณโสภณ (ที่ประกวดหนังสั้นฯ ชนะเลิศ) คุยกันสักพัก ผมจึงเข้าไปทักทาย คุณสายสุนีย์ และคุณอัญชลีพร ก็พูดคุยกันพักใหญ่ เพื่อมีข้อมูลประกอบให้ทางคุณอัญชลีพรสัมภาษณ์
.
พอจบช่วงเสวนา ก็มีทางเจ้าหน้าที่มาติดต่อในการมอบค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายให้ 1,600 บาทครับ ได้แนะนำงานที่หาให้สมาชิกผู้พิการสักพัก ขออีเมล์น้องสุรสิทธิ์ เพราะอยากลองให้น้องส่งงานมาให้ดู ว่าจะตรงกับงานที่กำลังจะพัฒนาอยู่รึเปล่า ผมคิดว่างานนี้ ทำให้ผมได้รู้จักคนมีความสามารถเพิ่มขึ้นครับ
.
ก่อนกลับเห็นคณะงิ้วธรรมศาสตร์ด้วยครับ ดูหลังเวที พวกน้องๆ ตัวใหญ่มากเลยครับ ได้เห็นน้องผู้หญิงบางคนซ้อมท่าทาง ตามภาษางิ้วก็อดอมยิ้มไม่ได้ จริงๆ แล้ว ก็อยากจะอยู่ดูครับ เพราะก็คนจีนเหมือนกัน ผมไม่ได้ดูงิ้วมานานมากแล้ว จึงเสียดาย เพราะติดธุระจริงๆครับ เป็นอันว่าจบงานนี้โดยรวบรัด เพราะแทบไม่มีภาพอื่นเลย ต้องขอโทษทุกคนนะครับ
.
แต่ผมอยากฝากเรื่องสำคัญ ที่ได้จากงงานนี้ นอกเหนือจากการที่ผมได้มาร่วมงานสำคัญระดับประเทศนี้ และได้มารู้จักเพื่อนๆ ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น ก็คือ ด้านแนทางของการนำเสนอให้เป็นงานที่ได้รับความสนใจจากประชาชนปกติ ไม่ใช่แค่คนพิการ เรื่องนี้ไม่นับว่า มีจำนวนคนที่เข้าร่วมฟังเสวนา น้อยนะครับ เพราะว่ามันเป็นรอยต่อ ที่บ้านเมืองกำลังวุ่นวายพอดี
.
ถ้าเรายังอยากให้ผู้พิการ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ต้องมีวิธีการที่จะทำให้ผู้พิการไม่ได้ถูกแบ่งแยกออกจากสังคม ทั้งโดยแนวคิด แนวทาง และการดำเนินงาน คงต้องหาทางทำให้การจัดงานต่างๆ ได้รับความสนใจจากทุกๆ คน เช่นเดียวกับลักษณะของการจัดงานทั่วๆ ไป
.
ผมลองขอเสนอแนะนะครับ เช่นว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า เวลามีงาน wedding fair แบบงานจัดงานแต่งงาน ทางหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ก็ตั้งงบประมาณ ซื้อบูธให้ผู้พิการไปออกงาน มีประชาชนเข้าร่วมงานก็มาพบเห็นฝีมือหัตถกรรมของกลุ่มผู้พิการ คู่แต่งงานก็อาจจะซื้อโดยตรง หรืออาจจะมีร้านค้า หรือบริษัทจัดงานมาติดต่อได้ เป็นการสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้พิการ และเป็นการเริ่มนำผู้พิการออกสู่สังคมไปพร้อมๆ กัน
อีกเรื่องซึ่งสำคัญมากๆ ที่จะได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน ก็คือ เมื่อผู้พิการได้ออกมาสู่โลกภายนอก ออกสู่สังคมอย่างเท่าเทียม จะทำให้มีประสบการณ์ ประสบการณ์จะสอนให้ผู้พิการกล้าที่จะลงทุนเอง มาออกงานต่างๆ เหมือนคนปกติทั่วไปครับ
.
คราวนี้เราลองมาดูงานอื่นๆ บ้าง เช่น งานด้านอุตสาหกรรม ก็ควรนำผู้พิการที่มีความสามารถไม่แพ้คนปกติ มาแสดงความสามารถ ให้ผู้ประกอบการเห็นว่า ผู้พิการนอกจากจะทำงานเก่งแล้ว ยังมีความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ได้ให้โอกาสพวกเขาได้เข้าทำงานด้วย ได้ให้ผู้ประกอบการได้จุดประกายความคิดว่า ยังมีงานอีกหลายตำแหน่ง หรือหลายลักษณะงาน ที่เหมาะสมกับผู้พิการ งานที่เหมาะสมกับความพิการ ผลงานย่อมไม่แพ้คนปกติแน่นอน ดังเช่น งานที่บริษัท PWDOM ของผมที่ทำให้ตลาด Telesales ยอมรับในความสามารถของสมาชิกผู้พิการ
.
ถ้าเป็นงานมอเตอร์โชว์ ก็ควรนำ pretty ที่สวยๆ แต่อาจจะพิการมานั่งในรถ เพื่ออธิบายกลไกต่างๆ ภายในรถ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเจรจาให้ผู้ผลิตรถดังๆ ที่มีการออกแบบพิเศษสำหรับผู้พิการ ให้นำมาโชว์ในงานบ้าง
.
ถ้าเป็นงานด้านซอฟแวร์ ด้านการพัฒนาโปรแกรม ก็นำผู้พิการที่มีความสามารถออกงาน เช่นน้องสุรสิทธิ์ เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการ เริ่มสนใจในการรับพนักงานผู้พิการเข้าทำงานอย่างเท่าเทียมทั้งสงิทธิ์ ฐานะ และรายได้ เป็นต้น
.
จริงๆ แล้ว ที่ผมได้ยกตัวอย่างทั้งหมดมานั้น ก้เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า เราควรจะนำผู้พิการ ผลงานของผู้พิการ ความสามารถของผู้พิการ ให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกที่ ทุกงาน ไม่ต้องเป็นแม่งาน เพราะใช้งบประมาณเยอะ ถ้าเป็นงานที่รวบรวมความสามารถของผู้พิการ ผมคิดว่าไม่ดี เพราะคนปกติก็จะไม่มา สุดท้ายก็จะมีเฉพาะแค่คนพิการ และผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มาร่วมงาน ก็จะวนเวียนอยู่แค่นี้ ไม่ไปสู่สังคมเสียที แต่งานเล็กๆ ย่อยๆ เราก็แค่ซื้อบูธเท่านั้นเองครับ
.
ขอบคุณครับปรีดา ลิ้มนนทกุล
ผู้ทุพพลภาพมืออาชีพ
.Preeda Limnontakul (SCI-C6)
Managing Director
mobile : 086-314-7866
Email :
preeda.limnontakul@gmail.com

No comments:

Post a Comment